วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

สื่อวัสดุ 3 มิติ
1.ความหมายของสื่อวัสดุ  3  มิติ
วัสดุ 3 มิติบางครั้งเรียกกันว่าวัสดุมีทรงหมายถึง  วัสดุที่มีลักษณะเป็นสามมิติ  คือ มีความกว้าง ความยาความหนา หรือความลึก ในทางการเรียนการสอนหมายถึง  ของจริง  ของตัวอย่าง  ของจำลอง  ตู้อันตรทัศน์   และสิ่งของอื่น ที่มีลักษณะเป็นรูปทรง
2.ตัวอย่างสื่อวัสดุ  3  มิติ
2.1 หุ่นจำลอง (Models) หมายถึง วัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง   เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถจะใช้ของจริง  ประกอบการเรียนการสอนได้  เช่น  การอธิบายลักษณะและตำแหน่ง  ของอวัยวะภาพในร่างกายของคนหรือสัตว์  ดังนั้นของ จำลองจึงมีคุณค่าต่อการเรียนใกล้เคียงกับของจริง

2.1.2 ลักษณะของหุ่นจำลองที่ดี 
-หุ่นจำลองที่เป็นวัสดุ มิติ  ทำให้ผู้ดูเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง
-ขยายหรือลดขนาดแท้จริงได้ให้สะดวกแก่การพิจารณา
-หุ่นจำลองที่แสดงให้เห็นภายในได้ซึ่งไม่สามารถเห็นได้จากของจริง
-ใช้สีเพื่อให้เห็นส่วนสำคัญ
-ควรตัดส่วนที่ไม่สำคัญออก  เพื่อให้เข้าใจง่าย
2.1.3 เทคนิคการใช้หุ่นจำลอง
-ต้องศึกษาหุ่นจำลองที่เหมาะสมทั้งขนาดรูปร่าง สี และสัญลักษณ์ต่างๆ
-ครูต้องศึกษาล่วงหน้าก่อนนำไปใช้สอน 
-อธิบายเปรียบเทียบ  หาความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นจริง 
       -เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม  หรือเข้ามาระยะไกล
       -ควรใช้สื่ออื่นประกอบ เช่น  แผนภูมิ  แผนภาพ
- หุ่นจำลองบางชนิด  จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
-เปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้า  หาคำตอบจากหุ่นจำลองด้วยตัวเอง
2.1.4 ประเภทของหุ่นจำลอง
                 อาจแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะ  และความมุ่งหมายของหุ่นจำลองนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามการแบ่งประเภทของ หุ่นจำลอง  อาจแบ่งแยกประเภทกันไม่ชัดเจน  เพราะแต่ละประเภทก็มีความเกี่ยวข้องกัน  หรือมีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน  โดยทั่วไปแบ่งประเภทดังนี้
               -  หุ่นรูปทรงภายนอก  (Solid Model) หุ่นแบบนี้ต้องการแสดงรูปร่าง หรือ รูปทรงภายนอกเท่านั้น เพื่อให้ได้รับความเข้าใจโดยทั่วไป  รายละเอียดต่าง ๆ ไม่จำเป็นก็ตัดทิ้งเสีย  หุ่นจำลองแบบนี้ย้ำเน้นใน เรื่องน้ำหนัก  ขนาด  สี หรือ พื้นผิว ลวดลาย มาตราส่วน  อาจจะใช้ผิดไปจากของจริงได้

                 หุ่นเท่าของจริง (Exact  Model)  มีขนาดรูปร่างรายละเอียดทุกอย่างเท่าของจริงทุก
ประการ พวกนี้ ใช้แทนของจริงที่หาได้  หรือ ราคาแพง หรือเสียหาย แตก หักง่าย แต่ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้นักเรียน ได้เข้าในรายละเอียดทุกอย่างในของจริง

                 หุ่นจำลองแบบขยายหรือแบบย่อ (Enlarge, Reduce Model) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหุ่นจำลองแบบ มาตราส่วน ทั้งนี้เพราะ  ย่อหรือขยายให้เล็ก  หรือใหญ่เป็นสัดส่วนกับของจริงทุกส่วนพวกนี้เป็นประโยชน์ ในการที่นักเรียนจะได้เข้าใน  รายละเอียดและความสัมพันธ์ของของจริงได้  ตัวอย่างเช่น ลูกโลก (Globes)คือ หุ่นจำลองที่ย่อโลกลงมาเพื่อให้สะดวกแก่การนำมาใช้  ในการเรียนการสอนมีหลายแบบ เช่น แสดงลักษณะภูมิประเทศ  แสดงอาณาเขตเฉพาะโครงร่างอาณาเขตของ พื้นที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ 
                หุ่นจำลองแบบผ่าซีก (Cut Away Models) แสดงให้เห็นลักษณะภายใน  โดยตัดพื้นผิวบางภายนอก บางส่วนออก  ให้เห็นว่า  ชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบกันอย่างไร  จึงจะเกิดเป็นสิ่งนั้น ๆเช่น หุ่นตัดให้เห็น ภายในหุ่น  ตัดให้เป็นลักษณะภายในของดอกไม้

                -  หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้ (Working Models) หุ่นจำลองแบบนี้  แสดงให้เห็นส่วนที่ เคลื่อนไหวทำงานของวัตถุหรือเครื่องจักร  หุ่นจำลองแบบนี้เป็นประโยชน์ในการสาธิตการทำงานหรือหน้า ที่ของสิ่งของนั้น ๆ 
               -  หุ่นจำลองเลียนของจริง (mockup  Models) แบบนี้แสดงความเห็นจริง  ของสิ่งหนึ่งซึ่งจัดวาง หรือประกอบส่วนต่าง ๆ ของของจริงเสียใหม่ให้ผิดไปจากที่เป็นอยู่เดิม ส่วนมากใช้เป็นประโยชน์แสดง ขบวนการซึ่งมีหลาย ๆ ส่วนเข้าไปเกี่ยวกันด้วย  
              หุ่นจำลองแบบแยกส่วน (Build up Models)  หุ่นจำลองแบบนี้แสดงให้เห็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ของสิ่งนั้น  ว่าภายในสิ่งนั้นประกอบด้วยสิ่งย่อย ๆ สามารถถอดออกเป็นส่วน ๆ และประกอบกันได้  หุ่นจำลองแบบนี้  จะช่วยให้เข้าใจถึงหน้าที่และความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ

2.2 ของจริง (Real Things) ของจริงหมายถึง  สิ่งเร้าต่างๆที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  และเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต  ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5  ทำให้สามารถมองเห็น  ได้ยิน  ได้กลิ่น  ได้ลิ้มรส  และได้สัมผัสกับบรรยากาศของของจริงด้วยตนเอง  ดังนั้นสื่อประเภทของจริงจึงมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง  แต่อย่างไรก็ตามสื่อของจริงบางอย่างก็ไม่เหมาะที่จะนำมาให้ดูกันได้  หากสิ่งนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป  อยู่ไกลเกินไป  หรือสิ่งนั้นเป็นของจริงที่มีอันตราย
                                2.2.1 ลักษณะของของจริงที่ดี
                                ของจริงที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
   1.มีขนาดเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
   2.มีสภาพเป็นจริงตามธรรมชาติหรือต้นกำเนิด
  3.ต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เรียน  ผู้สอน  และสิ่งแวดล้อม
  4.ไม่มีลักษณะยุ่งยากสลับซับซ้อนเกินไป
  5.ค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป
                                2.2.2 ประเภทของของจริง
ของจริงอาจแบ่งได้เป็น 3  ลักษณะ  คือ    ของจริงตามสภาพเดิม   ของจริงแปรสภาพ  และของตัวอย่าง
1.ของจริงตามสภาพเดิม (unmodified real objects)   หมายถึงของจริงที่ยังคงรักษาลักษณะเดิมตามความเป็นจริงทุก อย่าง  ยังไม่ถูกแปรสภาพ  นอกจากนำออกมาจากสิ่งแวดล้อมเดิมของจริงเหล่านี้อาจเป็นสิ่งธรรมชาติ  หรือสิ่งที่มนุษย์สร้าง ขึ้นมากก็ได้  อาทิเช่น ต้นไม้ สัตว์ คน รถยนต์ ฯลฯ   
2.ของจริงแปรสภาพ  (Modified real) หมายถึงของจริงที่ถูกเปลี่ยนสภาพจากลักษณะเดิมของมัน  ซึ่งอาจตัด หรือเลือกเฉพาะส่วนที่สำคัญมาแล้ว  อาจทาสีแสดงส่วนที่แตกต่างกันให้เห็นได้ชัดเจน  เช่น หัวกะโหลก  ชิ้นส่วนของโครงกระดูก เครื่องยนต์ที่ผ่าให้เห็น  ส่วนประกอบภายใน  สัตว์อบ  และสัตว์สต๊าป เป็นต้น 
ของจริงมีคุณค่ามากต่อการเรียนการสอน  ก็ต่อเมื่อของจริงที่นำมานั้นจะต้องเหมาะสมแก่การสังเกต  จับต้อง  ตั้งแสดง อภิปราย ฯลฯ  แต่ของจริงบางอย่าง  อาจไม่ให้ความรู้ตามข้อเท็จจริงได้ทั้งนี้เพราะมีข้อจำกัดบางประการคือ
              -  ของจริงที่นำมาอาจถูกแปรสภาพไปจากเดิม  ไม่มีความสมบูรณ์ในตัว
             -  ของจริงบางอย่างมีส่วนประกอบที่ยุ่งยากซับซ้อนยากแก่การเรียนรู้
             -  ของจริงบางอย่างไม่อาจนำมาศึกษาได้ทั้งหมด
             -  ของจริงบางอย่างมีขนาดเล็กหรือโตเกินไป  หรืออาจเป็นอันตรายไม่สะดวกที่จะนำมาศึกษาได้
             -  ของจริงบางอย่างอาจอาได้ยากหรือราคาแพงเกินไป
3.ของตัวอย่าง (Specimens) เป็นของจริงถูกนำเสนอเพียงบางส่วนของทั้งหมด  เช่น  ดินมีหลายชนิดแต่นำมาแสดงให้เป็นตัวอย่างเพียง 2 ชนิด  หินบนดวงจันทร์มีหลายชนิดหลายลักษณะแต่เก็บมานำเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างเพียงชนิดเดียว เป็นต้น
        2.2.3 เทคนิคการใช้การใช้ของจริงประกอบการสอน
          2.2.3.1 การเลือก 
          -  มีขนาดพอเหมาะสมที่จะใช้ในห้องเรียน
          -  ไม่มีความลำบากในการใช้   มีความปลอดภัย
            - ไม่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อนเกินไป
           -  มีสภาพสมบูรณ์ตามที่เป็นจริงในธรรมชาติ
           -  ราคาค่าใช้จ่ายไม่สูงไปนัก
           2.2.3.2  การแสดงของจริง
       -  ต้องแน่ใจว่าทุกคนได้เห็นรายละเอียดทั่วถึง  ต้องพิจารณาด้วยว่ารายละเอียดใดที่นักเรียนอาจจะไม่   สังเกต    หรือเข้าใจผิดต้องชี้แนะให้เข้าใจตรงกันทุกคน
       -  หากไม่แน่ใจว่านักเรียนจะเห็นทั่วถึง  ก็อาจจะใช้เครื่องฉายภาพได้  แต่ต้องให้ดูขนาดของจริงแท้ก่อน แล้วจึงฉายขยายขนาดให้เห็นรายละเอียด
      -  ควรมีกิจกรรมอื่นร่วมด้วย  เช่น ให้นักเรียนมีส่วนร่วมทางวัตถุ  หรือของจริงโดยให้นักเรียนเก็บตัวอย่าง สะสม  จัดแสดง  หรือจัดพิพิธภัณฑ์ของห้อง  ซึ่งเป็นการกระตุ้นการศึกษาในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ด้วย
      -  การใช้ของจริงและวัตถุนั้น ส่วนมากเราต้องการจะสร้างความคิดรวบยอด  ดังนั้นจึงต้องตัดสินใจก่อน ใช้ว่าจะสร้างความคิดรวบยอดประการใด  และวัตถุหรือของจริงนั้นจะสร้างความคิดรวบยอดเช่นนั้นได้หรือไม่
    -  ของจริงบางอย่างอาจหาได้ยากหรือราคาแพงเกินไป
              2.3  ป้ายนิเทศ( Bulletin Boards )  ป้ายนิเทศเป็นทัศน์วัสดุที่นำมาใช้ในการแสดงเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้ดูโยใช้วัสดุหลายอย่างติดไว้บนแผ่นป้าย เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความที่อธิบายภาพ รวมทั้งวัสดุ 3มิติ ของจริงหรือของจำลอง  เผยแพร่ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือ ใช้เป็นป้ายประกาศ และแสดงผลงานของหน่วยงานต่างๆ ป้ายนิเทศควรมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งผู้ดูสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้บรรยายประกอบแต่ไม่ควรมีรายละเอียดมากเกินไป ควรบรรจุเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว ถ้าเนื้อหามากควรจัดแสดงเป็นหลายๆแผ่น เรียงไปตามลำดับ มีจุดเริ่มต้นและจบในตัวเอง
                2.3.1  ลักษณะของป้ายนิเทศที่ดี
          1. ใช้ภาพเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ
          2. มีเรื่องราวครบบริบูรณ์แต่ไม่ควรจัดมากกว่า 1 เรื่อง
          3. มีความต่อเนื่องกันและมีความกลมกลืนกัน
         4. มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว จุดอื่นๆเป็นจุดรอง
         5. สามารถสร้างความรู้สึก ให้ผู้ดูสนใจติดตามการเคลื่อนไหว
         6. จัดให้มีภาพใกล้เคียงความจริง

                 2.3.2  ส่วนประกอบของป้ายนิเทศ
             โดยทั่วไปป้ายนิเทศจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆดังนี้
      1.ชื่อเรื่อง  มีลักษณะเป็นหัวข้อสั้นๆ อ่านง่าย มองเห็นได้ในระยะไกล
      2.รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ ควรมีขนาดใหญ่เหมาะกับพื้นที่ป้ายนิเทศ
      3.ข้อความอธิบายภาพ แนะนำ  ย้ำเตือน
      4.วัสดุตกแต่งเพื่อให้ป้ายดูสวยงาม
                2.4 ตู้อันตรทัศน์(Diorama)  เป็นทัศน์วัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีด้วยลักษณะเป็นฉาก ที่มีความลึกคล้ายกับของจริง  วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกัน สีสันเหมือนจริง เช่น ฉากใต้ทะเลมีฉากหลังเป็นสีน้ำเงิน พื้นเป็นทรายและโขดหินปะการัง แวดล้อมด้วยหอย ปู ปลา รวมทั้งสัตว์และพืชใต้ทะเล  เป็นต้น



สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิคส์(Electronic Material Media)
วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปอักษร ภาพ และเสียงไว้โดยการแปลงสารสนเทศให้เป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องมีเครื่องมือสำหรับจัดเก็บและแสดงผลออกมา โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสัญญาณภาพและเสียง อีกครั้งหนึ่ง เช่น   วีซีดี(VCD)  ดีวีดี(DVD)  ดีวีฟอร์แม็ต (DV Format)   เอ็มเพ็ค (MPEC)  ฯลฯ
ตัวอย่างสื่อ
1.แผ่นซีดี (Compact Disc)
แผ่น CD เป็นแผ่นพลาสติกเคลือบที่มีลักษณะเป็นวงกลม มีช่องตรงกลาง ขนาด 4.8 นิ้ว (12 cm.)หนา 1.2 มิลลิเมตร ประกอบด้วยแผ่นพลาสติกทำจากสาร polycarbonate, สารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆสารอคีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminiumเพื่อป้องกันผิวเลเบล (Label)  แผ่นซีดีโดยทั่วไปที่วางขาย จะมีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลขนาด650 MB หรือ 700MB  ต่อแผ่น CD 1 แผ่น  แต่ในบางร้านค้า เราก็สามารถพบเห็นแผ่น CD ขนาดเล็ก เรียกว่า Mini CD  ซึ่งมีความจุอย่างต่ำ 2 MB
CD จะมีหลายชั้น
       1. ชั้นบนสุด ส่วนมากจะเป็นงานพิมพ์ โลโก้
       2. แลกเกอร์ เคลือบป้องกัน ชั้นถัดไป
       3. เป็นวัสดุสะท้อนแสง เลเซอร์ อาจเป็นเงิน ทอง ตะกั่ว โครเมียม หรืออะไรก็แล้วแต่ ตามราคาและคุณภาพ
       4. เป็น โพลีคาร์บอเนต สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นชั้นล่างสุด ไม่มีอะไรมาเคลือบอีกนะครับ ซึ่งมีความหนา 1.2 มิลลิเมตร หรือ 0.047 นิ้ว (หยิบไม้บรรทัดขึ้นมาดู จะเท่ากับขีดเล็กๆ 1 ขีด+1/5 ของขีดถัดไป
 ชั้นที่ 4 นี้ เก็บข้อมูลโดย ใช้เลเซอร์ยิงให้เป็นหลุม ขนาด ลึก 100 นาโนเมตร กวาง 500 นาโนเมตร แต่ความยาว จะเปลี่ยนแปลงตามความเร็วในการเขียน (ยิงแสงเลเซอร์)



2. แผ่นวีซีดี (VCD :Video Computer Disc)
เป็นวัสดุอิเล็กทรอนิคส์ที่บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์  มีลักษณะทางกายภาพเหมือนแผ่นซีดีทั่วไปทุกประการ  เพียงแต่แผ่นวีซีดีสามารถบันทึกข้อมูลที่เป็นภาพยนตร์พร้อมเสียงสเตอริโอได้ถึง 1.44 ล้านบิตต่อวินาที (Mbps) การบันทึกใช้วิธีการบีบอัดข้อมูลโดยใช้มาตรฐาน MPEC ทำให้สามารถบันทึกและภาพยนตร์ที่มีความยาวมากๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.แผ่นดีวีดี(Digital Video Disc)
เป็นแผ่น CD ที่พัฒนาความจุให้มากขึ้นจากปกติที่จุได้แผ่นละ 650 MB DVD จะบรรจุได้ตั้งแต่       6 - 15 GB และยังคงเพิ่มขีดความสามารถในการจุข้อมูลมากขึ้นเรื่อย ๆ ความมุ่งหมายในการ ใช้งานหลักตอนนี้ก็คงจะบันทึกภาพยนต์ ซึ่งสามารถที่จะใช้แผ่นเดียวพร้อมกับ 6 ภาษาได้อย่างสบาย และคุณภาพของภาพก็คมชัดกว่า VCD อย่างมาก หรือไม่ก็ใช้บันทึกเอนไซโคปิเดียได้ทั้งหมดภายในแผ่นเดียว เครื่องที่จะเปิดดูนั้นจะต้องเป็นเครื่องเล่น DVD โดยเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเปิดก็ต้องซื้อDrive DVD มาต่างหาก ซึ่งตอนนี้คงลืมไปก่อนเพราะยังราคาแพงมากและ Software ที่จะใช้มีน้อยมาก
4.แผ่นเอสวีซีดี (SVCD: Super VCD)
เป็นแผ่นที่มีคุณลักษณะเพิ่มเติมจากแผ่นวีซีดีพัฒนาขึ้นโดยคณะผุ้วิจัยและผู้ผลิตที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน โดยอาศัยเทคโนโลยีของแผ่นดีวีดี แผ่นเอสวีซีดีเป็นแผ่นที่ใช้มาตรฐาน MPEG2   ที่มีความคมชัดภาพ 576*480จุดและเสียงสเตอริโอ ช่องทางของ MPEG2 Audio Layer 2ซึ่งมีอัตราการบีบอัด 1:6-1:8 เอสวีซีดีแผ่นหนึ่งจะเล่นได้ประมาณ 35-80 นาที
5.แผ่นเอ็กซ์วีซีดี (XVCD : eXtended  VCD)
แผ่นเอ็กซ์วีซีดี (XVCD:eXtended VCD) เป็นส่วนขยายของแผ่นวีซีดี รุ่น 2.0 อาจกล่าวได้ว่าเอ็กซ์วีซีดีเป็นการผสมคุณลักาณะระหว่างวีซีดี รุ่น 2.0 และดีวีดี โดยที่แผ่นเอ็กซ์วีซีดีจะมีอัตราการเสนอภาพ 3.5 ล้านบิตต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่าแผ่นวีซีดีธรรมดา  แต่ไม่สามารถใช้เสียงหลายช่องทาง(        multi-audio streams) หรือมีข้อความบรรยายได้
6.แผ่นเอ็กซ์เอสวีซีดี (XSVCD : eXtended  VCD)
                แผ่นเอ็กซ์เอสวีซีดี (XSVCD:eXtended VCD) เป็นการผสมคุณลักษณะระหว่างเอ็กซ์วีซีดีและดีวีดี  แผ่นวีซีดีรูปแบบนี้ใช้ MPEG2 เช่นเดียวกับเอสวีซีดีแต่จะมีอัตราการเสนอภาพเร็วถึง9.8 ล้านบิตต่อวินาทีโดยมีความคมชัดของภาพมากกว่าด้วย  สามารถใช้เสียงหลายช่องทางและมีข้อความบรรยายได้ แผ่นวีซีดีคุณภาพสูงทั้งเอสวีซีดี  เอ็กซ์วีซีดี  และเอ็กซ์เอสวีซีดี  ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่นวีซีดีธรรมดาได้ แต่ต้องใช้กับรุ่นที่เล่นได้ตั้งแต่แผ่นวีซีดี รุ่น 2.0 ขึ้นไป หรือจะเล่นกับเครื่องดีวีดีก็ได้เช่นกัน

สรุป
     สื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดี  บางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตัวมันเองโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ เข้ามาช่วย  แต่บางชนิดต้องอาศัยเครื่องมือในการฉายขยายเนื้อหาความรู้ให้เห็นเป็นภาพขนาดใหญ่หรือให้เสียงดังฟังชัดขึ้น  แบ่งออกเป็นวัสดุ  2  มิติ  วัสดุ 3 มิติ  และวัสดุอิเล็กทรอนิคส์
      สื่อวัสดุ 2 มิติ โดยทั่วไปหมายถึงสื่อวัสดุกราฟิกที่มีรูปภาพ  ตัวหนังสือ  และสัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญ  ใช้ในการแสดงความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง  แนวคิด  เพื่อเสริมความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่มีลักษณะเป็นนามธรรม  ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยการมองเห็นทางตา  ตัวอย่างของวัสดุกราฟิกที่ใช้กับการเรียนการสอน เช่น แผนภูมิ  แผนภาพ  แผนสถิติ  ภาพการ์ตูน  ภาพโปสเตอร์  ภาพประกอบเรื่อง สมุดภาพ  เป็นต้น
      สื่อวัสดุ 3 มิติ  เป็นสื่อที่สร้างมาจากวัสดุต่างๆ มีความกว้าง  ยาว  และหนาหรือลึก ทำให้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น หุ่นจำลอง  ของจริง  ป้ายนิเทศ  กระดานแม่เหล็ก  เป็นต้น
      สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิคส์ เป็นวัสดุที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิคส์  เช่น    เทปเสียง    ม้วนวีดีทัศน์   แผ่นซีดี  เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2565 เวลา 09:22

    Merkur 500 001 razor - DACCASINO.COM
    Merkur 500 001 razor. Merkur is also called 메리트카지노 the Merkur Progress and is one of the most popular modern safety razors today. Its long 인카지노 handle and high quality $49.90 · ‎In stock 메리트 카지노 주소

    ตอบลบ